เห็ดกระด้าง

ชื่อท้องถิ่น : เห็ดกระด้าง, เห็ดบด
ชื่อสามัญ : เห็ดลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus polychrous Lev.
          เห็ดกระด้าง ภาษาท้องถิ่นอีสานเรียกเห็ดบด ทางภาคเหนือเรียกเห็ดลม และภาคกลางเรียกเห็ดกระด้างดำ เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี ในธรรมชาติมักพบบนขอนไม้ล้มหรือขอนไม้ที่ตายแล้ว ในตระกูลเต็งรังหรือไม้ใบกว้าง พบในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อฤดูหนาว ที่อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนต่างกันมากๆ
          เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานข้ามปี เห็ดกระด้างมีรสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่นๆในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำมาผัดน้ำมันหอย ทำแกงส้มใส่ในแกงหน่อไม้ ดอกแก่นำมาใส่แกงแคหรือซุปแบบอีสาน จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
          นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลังและแก้ไข้พิษ โดยจะนำเห็ดกระด้างทั้งแบบสดหรือแบบแห้ง ต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้ สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อเห็ดเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง จากงานวิจัย พบว่า แคปซูล”  จากสารสะกัดเห็ดกระด้าง สามารถลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV ได้ผลดี จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก สำหรับราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่นๆ  จึงได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า

บ้านเห็ดศรีสะเกษ
เห็ดกระด้าง
          การเพาะเห็ดกระด้าง หรือ เห็ดบด เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นานข้ามปี เวลาจะนำมาปรุงอาหารก็นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพเหมือนเห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่มีรสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำไปแกงซุปหรือลาบให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ คือก รุบเหนียว ลื่นลิ้น จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ ๆ เป็นแหล่งผลิตด้วยราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมือง ชนิดอื่น ๆ ตกกิโลกรัมละ 80-200 บาท แล้วแต่ฤดูกาลเกษตรกรบางรายสามารถทำรายได้สูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า ซึ่งกรมวิชาการเกษตร โดยอัญชลี (2540ข) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีไว้บริการและจำหน่ายแก่เกษตรกร พร้อมทั้งได้วิจัยและพัฒนาสูตรวัสดุเพาะ ซึ่งมีหลายสูตรด้วยกัน

การทำถุงก้อนเชื้อ

ควรเริ่มในเดือนกุมภาพันธุ์ดีที่สุด เพื่อให้ทันช่วงที่อุณหภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ดบด การทำถุงก้อนเชื้อจะใช้ขี้เลื่อยยางพาราเป็นวัสดุเพาะ โดยใช้วัสดุอาหารอื่นๆผสมตามสูตร ดังนี้
1. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม
2. รำละเอียด 7.5 กิโลกรัม
3. ปลายข้าว 1 กิโลกรัม
4. ปูนขาว 2 กิโลกรัม
5. ยิปซัม 0.5 กิโลกรัม
6. ดีเกลือ 0.2 กิโลกีัม
7. ความชื้น (น้ำ) 65-70 %
8. ภูไมท์ 2-4 กิโลกรัม

สูตรสำเร็จเทคนิคการเพาะ "เห็ดกระด้าง-เห็ดลม" ในโรงเรือน สร้างรายได้งาม


บ้านเห็ดศรีสะเกษ
เห็ดกระด้าง

เครดิต :
- กรมวิชาการเกษตร
- http://www.moobanhed.com/14905352/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%94
- http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1443095228
- https://thummanoondotcom.wordpress.com/2014/01/31/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-3/
- http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view3.aspx?id=12339

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น